วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพร


สมุนไพร

        สมุนไพรไทย แหล่งรวม ตำรายาสมุนไพร กระชาย ขมิ้นชัน กระเจี๊ยบ รางจืด มะละกอ นม น้ำผึ้ง เคล็ดลับแก้กรรม บทสวดมนต์ แก้กรรม ปัญกาชีวิต เคล็ดลับ กินอย่างไร ไร้โรคภัย ด้วยสมุนไพรนานาชนิด เครื่องดื่มสมุนไพร น้ำลูกเดือย น้ำกระเจี๊ยบ


ขนมปังธัญพืช


       สมัยนี้คนเราระวังสุขภาพกันมากกว่าเมื่อ30 ปีที่ผ่านมา เพื่อนๆชอบซื้อขนมปังธัญพืชมากินกัน ซึ่งหาซื้อได้ทั่วไป บางร้านก็ใส่ธัญพืชมาก บางร้านก็ใส่น้อย และที่เราเรียกกันว่าขนมปัง Whole Wheat ก็ใส่แป้งโฮลวีทซึ่งไม่ขัดขาวเพียงนิดเดียว
ถ้าอยากกินธัญพืชมากๆ ต้องลองทำเองคะ ก่อนลงมือทำก็ไม่ต้องกังวลใจว่าขนมปังทำยาก ต้องลองทำเองดูก่อน ธัญพืชที่ใส่นี้ ก็ไม่ใช่ลูกเดือย ถั่วเขียวนะคะ แต่ต้องเป็นธัญพืชเม็ดเล็ก ดูย่างเช่น งาดำ งาขาว วีทเจิร์ม (ปลายจมูกขาวสาลี) ขาวโอ๊ต ป็อปปี้สีด (poppy seed) เมล็ดทานตะวัน (อบก่อน) ชอบอะไรหรือมีอะไร ก็ใส่ตามชอบ แต่ต้องอยู่ในปริมาณสัดส่วนที่บอกไว้
ข้อสำคัญ พยายามคงสัดส่วนของแป้งต่อน้ำในสูตรนี้ไว้ โอกาสพลาดจะมีน้อยมากหรืออาจจะไม่พลาดเลย อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ คือ ยีสต์ ถ้าจำไม่ได้ว่าซื้อมาเมื่อไรและยังใช้ได้หรือไม่ ต้องทดลองดูก่อน ถ้าใช้ไม่ได้ต้องเททิ้ง หายีสต์ใหม่ ไม่อย่างนั้นแป้งโดจะไม่ขึ้น
เครื่องตีต้องใช้หัวตีแบบขด ถ้าไม่มีก็ใช้มือนวด แต่ต้องใช้เวลานานสักหน่อย และต้องนวดจนเนื้อเนียน มือใหม่อาจจะยากสักนิด และมักจะเติมแป้งไปเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้ติดมือ ต้องระวังนะคะ ถ้าไม่แน่ใจ แป้งเหลวนิดหน่อยดีกว่าแป้งแข็ง เริ่มแรกใช้พายช่วยผสมในอ่างผสมก่อน ใส่น้ำทีละน้อย พอเริ่มเข้ากันได้ดีและเริ่มเหนียว ก็นำออกมานวดบนโต๊ะจนเนียน
ขนมปังธัญพืชนี้ก็เหมือนขนมปังขาวที่บ้านเราขายหรือกินกันทั่วไป กินขนมปังขาวอย่างไรก็กินขนมปังธัญพืชอย่างนั้น เพียงแต่ขนมปังธัญพืชนี้เนื้อจะแน่นหนัก ไม่โปร่ง ทำแซนด์วิชได้ตามที่ชอบ หรือทำ Croque Monsieur และ Croque Madame ซึ่งถือว่าเป็นแซนด์วิชประจำชาติของฝรั่งเศสก็ได้ ทำง่ายมาก แต่ใส่ชีสมากสักหน่อย หรือทำ Reuben Sandwich แซนด์วิชของคนอเมริกันก็ได้ โดยทั่วไปแซนด์วิชนี้ใช้ขนมปังไรย์ (rye bread) ทำ แต่ลองใช้ขนมปังธัญพืชจะอร่อยกว่า เวลาเสิร์ฟต้องผ่าเฉลียงให้เห็นเนื้อและชีสที่ใส่ไว้ จึงจะดูน่ากิน ส่วนใครชอบกินขนมปังปิ้งทาแยมทับเนยตอนเช้า ก็จะ อิ่มอร่อยอยู่ท้องกว่าขนมปังขาว
ขนมปังที่เราทำเองนี้ไม่ได้ใส่สารทันบูด จึงเก็บนอกตู้เย็นได้ไม่เกิน 2 วัน ต้องใส่ตู้เย็นไว้ วิธีเก็บที่ดีที่สุดคือ หั่นเป็นชิ้นตามชอบ ห่อด้วยพลาสติกใสแล้วใส่ช่องแช่แข็งไว้ พอจะกินก็นำออกมาอบทังๆ ที่ยังแข็งอยู่ ไม่ต้องรอให้นิ่ม รสชาติจะเหมือนเมื่ออบใหม่เลย เก็บไว้กินได้หลายวัน จริงๆ อย่างใจนึก คราวนี้ก็ได้กินขนมปังธัญพืชสมชื่อและมีธัญพืช จริงๆอย่างใจนึก



โหระพาไทย โหระพาเทศ



           โหระพามีชื่ออื่นๆ คือ อิ่มคิมขาว (ฉาน-แม่ฮ่อง-สอน) กอมก้อ (เหนือ อีสาน) นางพญาร้อยชู้ โหระพาไทย โหระพาเทศ ห่อกวยซวย ห่อวอซู

โหระพาเป็นพืชตระกูลเดียวกับกะเพราและแมงลักแต่กลิ่นรสต่างกัน 
ชื่อโหระพาภาษาอังกฤษคำว่า Basil มาจากภาษากรีก basileus แปลว่า "ราชา หรือ ผู้นำของปวงชน" ชื่อนี้เนื่องมาจากกลิ่นดุจเครื่องหอมในราชสำนักของโหระพา 

         ชื่ออื่นของโหระพาในภาษาแถบยุโรปมีรากศัพท์มาจากคำว่าราชานี้ทั้งสิ้น เชื่อว่าเป็นส่วนประกอบของสมุนไพรที่ราชวงศ์ยุโรปโบราณใส่ในน้ำอาบ

โหระพาเป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม กิ่งอ่อนสีม่วงแดง 

         ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 4-6 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ มีขนอ่อนปกคลุมใบและต้น 
        ดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 7-12 เซนติเมตร มีใบประดับสีเขียวอมม่วงซึ่งจะคงอยู่เมื่อเป็นผล กลีบดอกมีโคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 2 ส่วน เกสรตัวผู้ 4 อัน ผลขนาดเล็ก ผลแห้งมี 4 ผลย่อย เมล็ดเล็กเท่าเมล็ดงา สีน้ำตาลเข้ม

      โหระพามีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและแอฟริกา โหระพาเป็นพืชพื้นเมืองของอินเดีย แต่แพร่หลายทั้งในเอเชียและดินแดนตะวันตก 

      โหระพาช้าง Ocimum gratissimum Linn. หรือกะเพราญวน จันทร์หอม เนียมตัน เนียมยี่หร่า เป็นไม้พุ่มสูงคล้ายโหระพาแต่มีขนาดใหญ่กว่า 

ใบโหระพาช้างมีข้อแตกต่างจากโหระพาเนื่องจาก มีสารสำคัญในน้ำมันหอมระเหยต่างกัน ใบโหระพาช้างมียูจีนอล (eugenol) เป็นสารหลักทำให้ไม่นิยมใช้ประกอบอาหารเท่าโหระพา

ประโยชน์

       โหระพาเป็นพืชที่มีกลิ่นหอม นิยมนำมาประกอบอาหารหลากชนิดในประเทศไทย ช่วยปรุงแต่งกลิ่นรสของอาหารให้น่ากินยิ่งขึ้น ช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารหลายชนิด เช่น ผัดหอย ผัดเนื้อ ใช้ใบปรุงอาหารเป็นผักโรยชูรสได้หลายชนิด เช่น แกงเผ็ด แกงเลียง ผัด ทอด ใบและยอดอ่อนใช้กินเป็นผักสด เป็นเครื่องแนมอาหารคาวหรืออาหารว่างได้เป็นอย่างดี 

     โหระพาเป็นสมุนไพรที่มีรสชาติละเอียดอ่อน ถ้าใช้ปรุงอาหารจะใส่โหระพาแล้วยกลงทันทีเพื่อให้ไม่เสียกลิ่นรสไป 

      ประเทศทางตะวันตกนิยมกินใบแห้งเป็นเครื่องเทศ น้ำสลัดที่ใช้โหระพาเป็นส่วนผสม (pesto) เป็นน้ำสลัดที่ใช้ประจำในอาหารอิตาเลียน

       ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก็นิยมกินใบโหระพา แต่ใช้โหระพาจากอียิปต์ ฝรั่งเศส และมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีกลิ่นต่างจากโหระพาของไทย น้ำมันโหระพาใช้แต่งกลิ่นซอสมะเขือเทศ ขนมผิง ลูกอม ผักดอง ไส้กรอก และเครื่องดื่ม

       ใบโหระพามีคุณค่าทางยาช่วยย่อยอาหาร ช่วยให้เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องร่วง แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน เด็กปวดท้องให้ใช้ใบโหระพา 20 ใบ ชงน้ำร้อนและนำมาชงนมให้เด็กดื่ม ปลอดภัยกว่ายาขับลมที่ผสมแอลกอฮอล์ 

      นอกจากนี้ ใบโหระพามีสรรพคุณรักษาโรคหวัด รักษาอาการปวดศีรษะ โดยใช้ยอดอ่อนต้มกับน้ำดื่มเป็นชา หรือกินเป็นผักสด ใช้ร่วมกับขิงแก้ไอ และช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน เมล็ดของโหระพาเมื่อแช่น้ำจะพองตัวเป็นเมือก ใช้กินแก้บิด ช่วยหล่อลื่นลำไส้เป็นยาระบาย เนื่องจากไปเพิ่มจำนวนกากอาหาร (bulk laxative)

องค์ประกอบทางเคมี

       สารสกัดใบโหระพาที่ได้จากการกลั่นด้วยไอน้ำ มีสีเหลืองอ่อนถึงไม่มีสี ใบโหระพามีน้ำมันหอมระเหยอยู่ประมาณร้อยละ 0.1-1.5 เมื่อทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างจาก headspace และตรวจสอบด้วย gas chromatography พบว่าในน้ำมันหอมระเหยประกอบด้วยสารเมทิลชาวิคอล (methylchavicol) เป็นสารหลัก (ร้อยละ 93) และสารกลุ่มเทอร์พีน ได้แก่ลินาโลออล (linalool) และซินีออล (1, 8-cineol) 

       นอกจากนี้ ยังมีสารยูจีนอล (eugenol) กรดกาเฟอิก (caffeic acid) และกรดโรสมารินิก (rosmarinic acid) เป็นต้น

      น้ำมันหอมระเหยจากโหระพาช่วยการย่อยอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ช่วยคลายการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จึงช่วยการย่อยอาหาร ขับลมแก้ท้องอืดเฟ้อ ลดการปวดเกร็งในระบบทางเดินอาหาร และแก้หวัด น้ำมันโหระพามีกลิ่นหอมหวาน เมื่อสูดดมมีคุณสมบัติช่วยให้เกิดความสงบ มีสมาธิ ลดอาการซึมเศร้า มีข้อควรระวังในการใช้ในสปาคือทำให้เกิดอาการแพ้ง่าย สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง 

       องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญของใบโหระพาพันธุ์ไทย คือเมทิลชาวิคอล สกัดได้จากการกลั่นด้วยไอน้ำ มีลักษณะเป็นของเหลวใสสีเหลืองอ่อน หรือเหลืองอมน้ำตาลปราศจากตะกอนและสารแขวนลอย ไม่มีการแยกชั้นของน้ำ มีกลิ่นเฉพาะตัว มีคุณสมบัติแก้จุกเสียดแน่นท้อง

     ใบโหระพามีบีตาแคโรทีนสูง สามารถช่วยป้องกัน โรคหัวใจขาดเลือดและมะเร็งได้ โหระพา 1 ขีด มีบีตาแคโรทีน 452.16 ไมโครกรัม 

      ร่างกายผู้ใหญ่ต้องการบีตาแคโรทีนวันละ 800 ไมโครกรัม บีตาแคโรทีนมีอยู่ในผักใบเขียวเข้มทุกชนิด เมื่อกินโหระพาไปด้วยจะได้บีตาแคโรทีนเพียงพอใน 1 วัน

      ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของโหระพาและการทดสอบทางคลินิก

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ 

      เมื่อสกัดน้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพาด้วยเมทานอล พบว่ากรดโรสมารินิกในใบโหระพามีประสิทธิภาพต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบโดยวิธี DPPH scavenging activity 

       นอกจากนี้ การทดสอบน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดด้วยน้ำจากใบโหระพาต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่ถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระในห้องทดลอง พบว่าสารสกัดน้ำและน้ำมันหอมระเหยจากโหระพามีฤทธิ์ป้องกันความเสียหายจากการทำลายของอนุมูลอิสระได้

งานวิจัยของตุรกีพบว่า ชาโหระพามีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันสูงกว่าชาเขียวที่จำหน่ายในตุรกี

      ฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอลและแผ่นคราบ (พลัค) ในกระแสเลือด

      งานวิจัยการใช้ใบโหระพาเป็นยาลดคอเลสเตอรอล ในเลือดของสัตว์ทดลองที่ประเทศโมร็อกโกพบว่า สารสกัดโหระพามีฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอลในเลือดของหนูทดลองที่ถูกทำให้มีปริมาณไขมันสูง เนื่องจากการสะสมไขมันของแม็กโครฟาจที่เหนี่ยวนำโดยแอลดีแอล-คอเลสเตอรอล (LDL-C) หรือไขมันไม่ดี มีบทบาทสำคัญในการเกิดแผ่นคราบ (พลัค) ของโรคหลอดเลือดอุดตัน 

       คณะทำงานที่ประเทศอิตาลีจึงทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดกับการต้านออกซิเดชันของไขมันไม่ดี งานวิจัยพบว่าสารสกัดเอทานอลของโหระพามีฤทธิ์ต้านไขมันไม่ดี ออกซิเดชันจากการเหนี่ยวนำของ Cu (2+)

      นอกจากนี้ สารสกัดโหระพาลดการรวมตัวสะสมของหยดไขมันแม็กโครฟาจที่เกิดจากไขมันไม่ดีที่เปลี่ยนไป สารสกัดโหระพาไม่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเอสเทอร์ ของคอเลสเตอรอลและการสังเคราะห์ไตรกลีเซอรอลในเซลล์แต่อย่างใด แม็กโครฟาจที่ได้รับสารสกัดโหระพาลดการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในสภาพที่ไม่ใช่เอสเทอร์ และลดอัตราการทำงานของ surface scavenger receptor 

     สรุปได้ว่าสารสกัดเอทานอลของโหระพาสามารถลดการสร้างโฟมเซลล์ โดยลดการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล และเปลี่ยนแปลงการทำงานของ surface scavenger receptors

ฤทธิ์ต้านจุลชีพ

     ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย : สารสกัดจากโหระพามีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียที่ก่อโรค เช่น Staphylococcus, Enter-ococcus และ Pseudomonas น้ำมันหอมระเหยจากโหระพาที่สกัดด้วยวิธี hydrodistillation มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียแกรมบวก แกรมลบ

     ฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อสิว : นอกจากนี้ งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยนเรศวรพบว่า สารสกัดเอทานอลของใบโหระพามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของการเกิดสิว Propionibacterium acnes ได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับสารสกัดจากพืชร่วมตระกูลโหระพาอื่นๆ เช่น กะเพรา

      ฤทธิ์ต้านเชื้อรา : น้ำมันโหระพามีสารสำคัญคือ linalool และ eugenol ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้ง Sclerolinia sclero-tiorum, Rhizopus stolonifer and Mucos spp. น้ำมันโหระพาในขนาด 1.5 ml/l มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของไมซีเลียมเชื้อรา 22 ชนิด รวมถึงสายพันธุ์ที่สร้างไมโคท็อกซินของ Aspergillus flavus และ Aspergillus parasiticus ด้วย

      ฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส : โหระพามีการใช้งานมานานในการแพทย์แผนจีน การศึกษาฤทธิ์สารสกัดโหระพาและสารสำคัญในการต้านไวรัสพบว่าสารสกัดน้ำและเอทานอลของโหระพา และสารสำคัญคือเอพิจีนิน 

ลินาโลออล และกรดเออเซลิกมีฤทธิ์ต้านไวรัสแบบ broad sprectrum ครอบคลุมดีเอ็นเอไวรัส (herpes viruses (HSV), adenoviruses (ADV) hepatitis B virus) และ RNA ไวรัส (coxsackievirus B1 (CVB1) and enterovirus 71 (EV71)

      ฤทธิ์ต้านปรสิต : น้ำมันโหระพามีฤทธิ์ต้านปรสิต Giardia lamblia สารออกฤทธิ์ต้าน G. lamblia คือ ลินาโลออล

      ฤทธิ์ต้านสารก่อมะเร็ง

      น้ำมันโหระพาสามารถเพิ่มฤทธิ์ของเอนไซม์ glutathione-S-transferase มากกว่าร้อยละ 78 ในกระเพาะ ตับ และหลอดอาหารของหนูทดลองและสามารถต้านการก่อมะเร็งของหนูได้ โดยมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของสารซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิด squamous cell carcinoma ในกระเพาะอาหารของหนูทดลอง และพบว่าน้ำมันโหระพามีพิษต่อเซลล์มะเร็งเมื่อทดสอบด้วยวิธี MTT ในเซลล์มะเร็ง murine leukemia และ human mouth epidermal carcinoma 

      ฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์

      น้ำมันสกัดจากใบโหระพามีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของ Samonella typhimurium มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ได้ดีใกล้เคียงกับฤทธิ์ของวิตามินอี ฤทธิ์ดังกล่าวเกิดจากฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของน้ำมันโหระพา

      ฤทธิ์ต้านการอักเสบ

       สารสกัดจากใบโหระพามีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ cyclooxygenase และ lipoxygenase ซึ่งไปเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบในเมตาบอลิกของกรดอาราชิโดนิก (arachidonic acid) พบว่าสารกลุ่มเทอร์พีนที่แยกได้จากรากและลำต้นของโหระพามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ

      การศึกษาฤทธิ์ต้านอักเสบของทิงเจอร์โหระพา พบว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยออกฤทธิ์ที่ไขกระดูกอย่างเฉียบพลัน การศึกษาผลของทิงเจอร์โหระพา (1:10) ในการลดการอักเสบที่เกิดจากเทอร์เพนไทน์ของหนู เทียบกับการใช้ไดโคลฟีแนก (30 มก./100 ก.) โดยการวัดเม็ดเลือดขาวโดยรวมและแยกชนิด ทดสอบฟาโกไซซิสในหลอดทดลอง และการวัดการสังเคราะห์ไนตริกออกไซด์ พบว่าทิงเจอร์โหระพาลดปริมาณเม็ดเลือดขาวสุทธิปริมาณโมโนไซต์ ลดการกระตุ้นฟาโกไซต์ แต่ลดการสร้างไนตริกออกไซด์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทิงเจอร์โหระพาให้ผลน้อยกว่าการใช้ไดโคลฟีแนกเล็กน้อย

    ฤทธิ์รักษาแผลกระเพาะอาหาร

    น้ำมันโหระพามีฤทธิ์ยับยั้งฤทธิ์ของแอสไพริน ที่เหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยยับยั้งเอนไซม์ lipoxygenase และต้านฮิสทามีนที่ทำให้เกิดการอักเสบและเกิดแผล

    ฤทธิ์ฆ่าไรและแมลง

    สารสกัดจากใบโหระพามีฤทธิ์ฆ่าไร Tetranychid mites (Tetranychus urticae) และ Eutetranychus orientalis ฆ่าแมลงวันบ้าน แมลงวันปากคมที่ตอมกินเลือดปศุสัตว์ และยุงพาหะโรคชนิดต่างๆ น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากโหระพามีฤทธิ์ฆ่ายุงและลูกน้ำยุงหลายชนิด รวมถึงยุงที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกด้วย

     ไม่น่าเชื่อว่าพืชพื้นๆ เช่นโหระพาจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพได้มากถึงเพียงนี้ เมื่อส่งต้นฉบับนี้แล้วคงต้องไปซื้อก๋วยเตี๋ยวลุยสวนมาจากตลาดนัด ขอโหระพาเขาแถมมาหน่อย เป็นอาหารว่างจานผักเพื่อสุขภาพไง

ประโยชน์ของแก้วมังกร

      ผลไม้แก้วมังกรอีกหนึ่งผลไม้ที่มีคุณค่าวันนี้เราจึงขอนำความรู้เรื่องประโยชน์ของแก้วมังกรและสรรพคุณของแก้วมังกรมาบอกเล่าให้รู้คุณค่าของ ประโยชน์ของแก้วมังกร และ สรรพคุณของแก้วมังกร ที่คุณยังไม่รู้ให้ได้ตอกย้ำความรู้ยิ่งเข้าไปอีกค่ะ อนึ่งคนไทยนั้นยังไม่ค่อยนิยมผลไม้อย่างแก้วมังกรเท่ากับคนไทยเชื้อสายจีนค่ะ เพราะอาจเนื่องด้วยผลไม้แก้วมังกรนั้นเป็นผลไม้ที่ค่อนข้างราคาสูงอยู่ในขณะนี้ แม้ว่าจะมีราคาที่ค่อนข้างสูงแต่เมื่อเปรียบเทียวกับ ประโยชน์ของแก้วมังกร และ สรรพคุณของแก้วมังกร แล้วก็นับว่าคุ้มค่าอยู่มิใช่น้อยค่ะ ยิ่งเป็นคุณผู้หญิงที่กำลังคิดจะลดน้ำหนักด้วยแล้วใช้ผลไม้อย่าแก้วมังกรดีนักแลค่ะ นั้นเรามดูเรื่อง ประโยชน์ของแก้วมังกรและสรรพคุณของแก้วมังกร กันเลยดีกว่าค่ะ
สรรพคุณ / ประโยชน์ของแก้วมังกร


      แก้วมังกรมี 2 ชนิดคือ สีขาวกับสีแดง สีแดงจะมีรสหวานกว่า ส่วนรสหวานของแก้วมังกรสีขาวเป็นหวานอ่อนๆ ที่ไม่มีพิษภัย จะมีก็แต่คนติดรสหวานที่อาจติว่าจืดชืดไปหน่อย ถ้าใครไม่ชอบก็ขอบอกว่า คุณได้พลาดผลไม้ที่มีประโยชน์สุดๆ ต่อสุขภาพและความงามไปอย่างน่าเสียดาย

     ความโดดเด่นที่ทำให้สาวๆ หลายคนชอบกินผลไม้ชนิดนี้ก็เนื่องจากเป็นผลไม้ที่สามารถกินกันได้โดยไม่ต้องห่วงเรื่องไขมันและความหวานที่กลายไปเป็นไขมันสะสมในภายหลัง แถมยังกินอิ่มท้องจนทดแทนอาหารเย็น เป็นผลไม้ที่ใช้ช่วยลดน้ำหนักได้สบายๆ ทีเดียว

      คุณค่าอาหารที่ซุกซ่อนอยู่ในแก้วมังกรก็มีทั้งแคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามิน บี1 บี2 บี3 แต่ที่เยอะมากสุดก็คือวิตามินซี จึงช่วยทั้งในเรื่องการบำรุงผิวพรรณ กระดูกและฟันแข็งแรง รวมทั้งช่วยในเรื่องของสายตาได้ด้วย

     วิธีทานก็ง่ายๆ แค่ผ่าครึ่งลอกเปลือกหรือใช้ช้อนตักเข้าปากเลยก็ได้หรือจะนำไปทำเป็นเครื่องดื่ม ใส่สลัด เสิร์ฟคู่ไอศกรีม หรือขนมหวาน แก้วมังกรก็สามารถแทรกรสชาติไปกับทุกอย่างได้กลมกลืนและกลมกล่อม

สมุนไพรไทย เตยหอม



สมุนไพร”เตยหอม” มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปาแนะวองิง โดยจะเป็นชื่อเรียกในแถบประเทศมาเลเซีย และจังหวัดนราธิวาส

สรรพคุณของสมุนไพรไทย “เตยหอม” มีดังนี้ 

  • สามารถใช้บำรุงหัวใจ และสามารถทำให้ชุ่มคอแก้่อาการกระหายน้ำ โดยให้นำสมุนไพรใบเตยสดมาล้างให้สะอาด แล้วนำมาตำหรือปั่นให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อยคั้นเอาแต่น้ำดื่ม และถ้าหากต้องการรสชาติที่ดีขึ้นสามารถผสมน้ำตาลเล็กน้อยได้
  • สามารถใช้เป็นยาขับปัสสาวะ และสามารถรักษาโรคเบาหวาน โดยให้นำรากสมุนไพรเตยหอมไปต้มน้ำดื่ม
  • สามารถรักษาโรคผิวหนัง โดยให้นำใบสมุนไพรเตยหอมมาตำพอกบริเวณที่เป็น
  • สามารถนำไปผสมอาหาร และสามารถใช้ดับกลิ่นได้อย่างดี

สามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มน้ำใบเตย ก็รสชาติดีใช่ย่อยนะครับ

โกจิเบอร์รี่



          วันนี้เราได้นำเอาความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของโกจิเบอร์รี่และประโยชน์ของโกจิเบอร์รี่ (เก๋ากี้) มาฝากค่ะ ตอนนี้เชื่อได้เลยว่าหลายๆ คนตอนนี้คงจะสงสัยว่า เก๋ากี้ คืออะไรอยู่ใช่ไหมหล่ะค่ะ เก๋ากี้ ก็คือ ผลโกจิเบอร์รี่ นั้นเอง ว่ากันว่าโกจิเบอร์รี่หรือเก๋ากี้เป็นน้ำผลไม้ที่มีแหล่งที่มาจากเทือกเขาหิมาลัยเชียวนะ แถมมีรสชาติดีมีกลิ่นหอมและยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายอีกด้วย วันนี้เราก็เลยได้นำเอา สรรพคุณของโกจิเบอร์รี่ และ ประโยชน์ของโกจิเบอร์รี่ (เก๋ากี้) มาบอกให้รู้กันค่ะ สำหรับ สรรพคุณของโกจิเบอร์รี่ และ ประโยชน์ของโกจิเบอร์รี่ (เก๋ากี้) ก็อย่างที่บอกไปแล้วว่ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับสุขภาพและร่างกายแถบจะพูดกันไม่หมด งั้นเราลองไปดูกันดีกว่านะค่ะว่า สรรพคุณของโกจิเบอร์รี่ และ ประโยชน์ของโกจิเบอร์รี่ (เก๋ากี้) จะสามรถช่วยดูแลส่วนไหนของร่างกายเราได้บ้าง รับรองได้เลยนะค่ะว่า สรรพคุณของโกจิเบอร์รี่ และ ประโยชน์ของโกจิเบอร์รี่ (เก๋ากี้) นี้ดีต่อสุขภาพจริงๆ ใครที่รักในการดูแลสุขภาพห้ามพลาดเลยนะค่ะ
สรรพคุณ / ประโยชน์ของโกจิเบอร์รี่ (เก๋ากี้)

ผลโกจิเบอร์รี่ (เก๋ากี้) คืออะไร
ผลโกจิเบอร์รี่ หรือมีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Chinese Wolfberry ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทางเภสัชศาสตร์ว่าเป็นพืชในตระกูล Lyceum Barum มีแหล่งกำเนิดในประเทศจีน
ความสำคัญของผลโกจิเบอร์รี่ (เก๋ากี้)
ผลโกจิเบอร์รี่ (เก๋ากี้) เป็นที่รู้จักกันอย่างดีในแถบเอเชียว่าเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่าด้านสารอาหารมากที่สุด ผลโกจิเบอร์รี่ (เก๋ากี้) ใช้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญทางยาจีนแผนโบราณซึ่งได้มีการบันทึกในประวัติศาสตร์จีนเกือบ 2,000 ปี จากตำนานที่ไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานพบว่า โกจิเบอร์รี่ (เก๋ากี้) เป็นพืชโบราณที่มีอายุมากว่าที่จดบันทึกไว้ราว 2,800 ปี ก่อนพุทธกาล

ผลโกจิเบอร์รี่ (เก๋ากี้) เป็นที่นิยมในประเทศในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอื่นๆ ในระดับแนวหน้าอุตสาหกรรมรมอาหารระดับโลก เพราะผลโกจิเบอร์รี่ (เก๋ากี้) อุดมไปด้วยคุณค่าด้านสารอาหารและการต่อต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)

โกจิเบอร์รี่ (เก๋ากี้) มีพลังแอนตี้ออกซิแดนซ์ (ต่อต้านอนุมูลอิสระจากการทำลายเซลล์และชะลอความชรามากที่สุดในโลก)

โกจิเบอร์รี่ (เก๋ากี้) แต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน การค้นหาโกจิเบอร์รี่ (เก๋ากี้) ชนิดที่ดีเยี่ยมจริงๆ เช่นเดียวกับความหลากหลายของผลองุ่น คุณภาพของเหล้าไวน์ที่แตกต่างกันไป ผลโกจิเบอร์รี่ (เก๋ากี้) มีสายพันธุ์ต่างๆ มากถึง 41 สายพันธุ์ด้วยกันที่ปลูกในทิเบต ดร.Mindell ทราบดีว่าเขาต้องทุ่มเทวิเคราะห์สายพันธุ์โกจิหลายสิบสายพันธุ์เป็นอย่างมากเพื่อหาสายพันธุ์ที่ดีเยี่ยมเพียงสายพันธุ์เดียว ซึ่งเป็นสายพันธุ์เดียวกันกับที่หมอรักษาชาวหิมาลัยโบราณเป็นผู้ค้นพบและได้รับการกล่าวขานยกย่องเป็นตำนานมาตั้งแต่สมัยโบราณ

จากการค้นคว้าและวิจัยของ Dr. Earl Mindell ได้ค้นพบว่าผลโกจิเบอร์รี่ (เก๋ากี้) ให้คุณค่าทางโภชนาการมากที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังพบประโยชน์ในงานวิจัยดังนี้

- ชะลอความชรา (Anti-aging)
- ควบคุมน้ำตาลในเม็ดเลือดแดง (Blood Builder)
- เสริมสร้างการทำงานของหัวใจ (Cardiovascular Support)
- เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย (Immunity System)

ประโยชน์มากมายจากอาหารที่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โกจิเบอร์รี่ หรือ เก๋ากี้ รู้จักกันในทางวิทยาศาสตร์ว่า เป็นพืชในตระกูล Lycium Barbarum มีแหล่งกำเนิดในประเทศจีน ทิเบต

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของโกจิเบอร์รี่ (เก๋ากี้) ได้แก่

1. ประกอบด้วยกรดอะมิโน 19 ชนิด (ปกติมี 20 ชนิด) แต่มีกรดอะมิโนครบทั้ง 9 ชนิด

2. มีแร่ธาตุที่ร่างกายต้องกายในปริมาณน้อย รวม 21 ชนิด ที่สำคัญได้แก่ สังกะสี เหล็ก ทองแดง แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส ซิลีเนียม และเจอร์มาเนียม ฯลฯ

3. มีวิตามินซีสูงกว่าส้ม 500 เท่า (เป็นพืชที่มีวิตามินิซีสูงเป็นอันดับสอง รองจาก คามู คามูเบอร์รี่)

4. มีวิตามิน บี1 บี2 บี6 และวิตามินอี

5. มีสารโพลี่แซคคาไรด์ 4 ชนิด : LBP-1, LBP-2, LBP-3, LBP-4

   - ช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอยู่ในสภาวะสมดุลดี
   - ช่วยปรับความดันโลหิตให้ปกติ
   - ช่วยให้น้ำตาลในเลือด และอินซูลินอยู่ในสภาวะสมดุล
   - ช่วยลดน้ำหนัก โดยเสริมการเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงานแทนไขมัน
  - ช่วยฟื้นฟูสภาพเซลล์ที่ถูกทำลายจากสารเคมีหรือรังสีให้สู่ปกติได้เร็วขึ้น

6. มีสารเจอร์มาเนี่ยม Germanium : Ge ที่อยู่ในสภาพอินทรีย์ (organic) ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็ง

7. มีสารซิแซนทิน(Zeaxanthin) มีสูงถึง162 มก./100 กรัมสูงกว่าสาหร่ายเกลียวทองประมาณ 5 เท่า

  - ช่วยบำรุงสายตา และป้องกันแสงสีน้ำเงินที่ทำลายดวงตา
  - ช่วยผู้มีอาการ ต้อลม ตาพร่า ตามัว ให้คืนสู่สภาพปกติ
8. เบต้า - ไซโตสเตอรอล (Beta - sitosterol)
   - ช่วยลดคอเลสเตอรอลโดยการดูดซึมที่ลำไส้
   - ช่วยลดอาการต่อมลูกหมากโต
  - ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพน้ำอสุจิให้แข็งแรง

9. ไซเพอโรน (Cyperone) ช่วยให้หัวใจและความดันทำงานได้ปกติ

10. ไฟซาลิน (Physalin) ช่วยกำจัดโรคร้าย ลิวคีเมีย (Leukemia)

11. บีรเทน (Betaine) เป็นสารประกอบที่ให้ตับใช้ ผลิตโคลีนซึ่งเป็นสารประกอบที่

- ช่วยให้มีความจำดี
- ช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเจริญเติบโต
- ช่วยป้องกันโรคตับ

12. สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในบรรดาผักและผลไม้อื่นๆ คือ มีค่า ORAC สูง 25,300 unite

จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นคุณสามารถดื่มน้ำโกจิเบอร์รี่ (เก๋ากี้) เพื่อรักษาและป้องกันอาการต่างๆ ได้ เพราะน้ำโกจิเบอร์รี่ (เก๋ากี้) ก็คือ น้ำผลไม้ไม่ใช่ยา ไม่มีผลข้างเคียง ชาวจีนใช้กันมาเป็นเวลายาวนานกว่า 3,000 ปี
ประโยชน์ของมะตูม


            เชื่อไหมค่ะว่าสรรพคุณของมะตูมและประโยชน์ของมะตูมนี้มีมากมายจนหลายๆ คนนึกไม่ถึงเลยทีเดียวค่ะ มะตูมเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรไทยที่หลายๆ คนคงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า สรรพคุณของมะตูม และ ประโยชน์ของมะตูม นั้นมีมากมายเพียงใด เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะเคยกินน้ำมะตูมกันมาบ้างอย่างแน่นอน เพราะน้ำมะตูนนั้นจะมีกลิ่นหอม ดื่มแล้วจะทำให้ชุมคอแก้กระหายได้เป็นอย่างดี และนอกจากนั้นมะตูมยังเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรไทยที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านดั้งเดิมที่ไม่เคยจางหาย แต่ทว่า สรรพคุณของมะตูม และ ประโยชน์ของมะตูม ยังคงไม่หมดแต่เพียงเท่านั้นนะค่ะ ถ้าอย่างนั้นวันนี้เราไปดู สรรพคุณของมะตูม และ ประโยชน์ของมะตูม กันเลยดีกว่านะค่ะว่าจะมีมากมายสักแค่ไหน เพียงแค่คุณรู้วิธีและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์รับรองว่าคุณจะมองเห็นสรรพคุณต่างๆ มากมายของสมุนไพรไทยใกล้ตัวจนอาจจะไม่ต้องเสียค่ายารักษาที่แพงๆ เลยก็ได้และแถมไม่มีพิษภัยตกค้างกับร่างกายเราอีกด้วย ว่าาแล้วเราก็มาดู สรรพคุณของมะตูม และ ประโยชน์ของมะตูม กันเลยดีกว่าค่ะ

สรรพคุณ / ประโยชน์ของมะตูม

ผลโตเต็มที่ - ฝานเป็นชิ้นบางๆ ตากแห้งคั่วให้เหลือง ชงรับประทาน แก้ท้องเดิน ท้องเสีย ท้องร่วง โรคลำไส้เรื้อรังในเด็ก
ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก - น้ำมาเชื่อมรับประทานต่างขนมหวาน จะมีกลิ่นหอม และรสชวนรับประทาน บำรุงกำลัง รักษาธาตุ ขับลม

ผลสุก - รับประทานต่างผลไม้ เป็นยาระบายท้อง และยาประจำธาตุของผู้สูงอายุ ที่ท้องผูกเป็นประจำ

ใบ - ใส่แกงบวช เพื่อแต่งกลิ่น

ราก - แก้หืด หอบ แก้ไอ แก้ไข้ ขับลม แก้มุตกิต

วิธีและปริมาณที่ใช้

       ใช้ผลโตเต็มที่ ฝานตากแห้ง คั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่ม ใช้ 2-3 ชิ้น ชงน้ำเดือดความแรง 1 ใน 10 ดื่มแทนน้ำชา หรือชงด้วยน้ำเดือด 2 ถ้วยแก้ว ดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว

ตะไคร้หอม



 ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cymbopogon nardus Rendle

ชื่อสามัญ :   Citronella grass

วงศ์ :   GRAMINEAE

ชื่ออื่น :  จะไคมะขูด ตะไครมะขูด (ภาคเหนือ) ตะไคร้แดง (นครศรีธรรมราช) 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.75-1.2 เมตร แตกเป็นกอ เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบของตะไคร้หอมมีสีเขียวปนม่วงแดง ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น  ใบ เดี่ยวเรียงสลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 70-100 ซม. แผ่นใบและขอบใบสากและคม  (ตะไคร้หอมใบยาวและนิ่มกว่าตะไคร้ธรรมดาเล็กน้อย ทำให้ปลายห้อยลงปรกดินกว่า)  ดอก ช่อ สีน้ำตาลแดง แทงออกจากกลางต้น ออกดอกยาก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก

ส่วนที่ใช้ :  ต้น ใบสด น้ำมันของต้นตะไคร้หอม

สรรพคุณ : 

    น้ำมันสะกัดตะไคร้หอม  
     -  ปรุงกับน้ำหอมทาตัวป้องกันยุงกัด  
     -  ใส่กระบอกสูบผสมกับน้ำมันอื่นฉีดไล่ยุงได้ดีมาก 
ทั้งต้น
     -ใช้ตะไคร้หอม 4-5 ต้น นำมาทั้งต้น ทุบๆ วางทิ้งไว้ในห้องมืดๆ กลิ่นน้ำมันหอมระเหยออกมา ยุง แมลงจะหนีหมด 

ประโยชน์ทางยา

      แก้ริดสีดวงในปาก (คือปากแตกระแหงเป็นแผลในปาก) 
ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ และแก้แน่นได้ด้วย 
สตรีมีครรภ์รับประทานให้ตกลูกหรือทำลายโลหิตให้ด้วย (ทำให้แท้ง) คือมีอำนาจในทางบีบรัดมดลูกได้ดีด้วย 
วิธีใช้ : นำน้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอมทาตามตัว ไล่แมลง ยุง




หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ 

1. ฤทธิ์ไล่ยุงและแมลง
น้ำมันตะไคร้หอม (Citronella oil) ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยสกัดจากต้นตะไคร้หอมสามารถใช้ไล่แมลงได้ ครีมที่มีน้ำมันจากใบตะไคร้หอม ความเข้มข้น 1.25, 2.5 และ 5% มีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัด เมื่อทดสอบกับยุงก้นปล่อง โดยมีระยะเวลาในการป้องกัน นาน 2 ชม. และที่ความเข้มข้น 10% จะมีระยะเวลาในการป้องกันได้มากกว่า 4 ชม. ตำรับครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันข่า 5% น้ำมันตะไคร้หอม 2.5% และวานิลลิน 0.5% จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัดได้เช่นกัน โดยมีระยะเวลาในการป้องกัน นานกว่า 6 ชม. (2, 3) และเมื่อทดสอบกับยุงรำคาญ พบว่าตำรับครีมผสม สามารถป้องกันยุงกัดได้ดีกว่าครีมที่ไม่มีน้ำมันหอมระเหย เมื่อนำน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม มาทดสอบกับยุงที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก และเท้าช้าง พบว่ามีผลป้องกันยุงกัดได้นาน 8-10 ชม. และในการทดสอบกับยุงลาย พบว่าความเข้มข้นที่ผลในการป้องกันยุงได้ร้อยละ 50 (EC50) และร้อยละ 95 (EC95) มีค่าเท่ากับ 0.031 และ 5.259% ตามลำดับ และน้ำมันหอมระเหย ความเข้มข้น 1% สามารถป้องกันยุงกัดได้ 75.19% สารสกัด 90% เอทานอลจากตะไคร้หอม และสารสกัดตะไคร้หอมที่ผสมกับน้ำมันมะกอกและน้ำมันหอมระเหยกลิ่นชะมดเช็ด เมื่อนำมาทดสอบกับยุงลายและยุงรำคาญตัวเมีย จะมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงได้นาน โดยมีค่าเฉลี่ยช่วงเวลาอยู่ที่ 114-126 นาที นอกจากนี้ยังมีผลในการควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงได้ด้วย น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม ความเข้มข้น 10% มีฤทธิ์ดีในการไล่ตัวอ่อนของเห็บ โดยให้ผลในการไล่ได้นานถึง 8 ชม. นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ไล่แมลงที่จะมาทำลายเมล็ดข้าวที่เก็บไว้ได้ โดยไม่มีผลต่อคุณภาพของข้าว ตะไคร้หอมยังมีฤทธิ์ไล่ผีเสื้อกลางคืน และพวกแมลงบินต่างๆ ได้

2. สารสำคัญในการออกฤทธิ์ไล่ยุง
น้ำมันตะไคร้หอมมีส่วนประกอบที่สำคัญในการออกฤทธิ์ คือ camphor (11, 12), cineol (13-15), eugenol (16-19), linalool (20), citronellal, citral (17)
3. การทดลองทางคลินิกใช้ในการไล่ยุง
มีการศึกษาผลของครีมที่มีส่วนผสมน้ำมันหอมระเหย 14% ในการทาป้องกันยุงรำคาญกับอาสาสมัคร 40 คน เปรียบเทียบกับครีมที่ไม่มีตัวยา พบว่าสามารถป้องกันยุงได้ 13 คน ในอาสาสมัครที่ทาครีม 20 คน ขณะที่อาสาสมัครที่ทาครีมที่ไม่มีตัวยา จะไม่สามารถป้องกันยุงได้ (21)
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ทดลองประสิทธิภาพป้องกันยุงกัดของครีมตะไคร้หอม 14% พบว่ามีผลป้องกันยุงกัดได้นาน 2 ชม. ซึ่งใกล้เคียงกับครีมจากสารสังเคราะห์ (dimethyl phthatate 20% + diethyl toluamide 5%) (22)
4. ฤทธิ์ฆ่าแมลง
น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม เมื่อนำมารมเมล็ดถั่ว นาน 72 ชม. มีผลฆ่าแมลงCallosobruchus maculatus ที่จะมาทำลายเมล็ดถั่วได้ น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยไม่มีผลต่อการงอกของถั่ว (23) แต่มีผลต่อ parasite ของแมลงชนิดนี้มากกว่า (24) สารสกัดตะไคร้หอมผสมกับสารสกัดจากเมล็ดสะเดา และข่า ในอัตรา 200 มล./น้ำ 20 ลิตร มีผลลดการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนและหนอนเจาะฝักซึ่งเป็นแมลงศัตรูถั่วฝักยาวได้ แต่ไม่สามารถควบคุมการเข้าทำลายของแมลงวันเจาะต้นถั่ว (25) สารสกัดตะไคร้หอม ความเข้มข้น 100 ppm จะให้ผลน้อยมากในการควบคุมแมลงศัตรูกะหล่ำ (26) แต่จะมีผลทำให้ไรแดงกุหลาบตายร้อยละ 95 ภายใน 20.70 ชม. (27) นอกจากนี้สารสกัด10% เอทานอล (ต้นตะไคร้หอมแห้ง 200 ก./4 ลิตร) จะให้ผลดีในการลดปริมาณของหมัดกระโดดซึ่งเป็นแมลงศัตรูคะน้า แต่มีแนวโน้มที่จะทำให้น้ำหนักของคะน้าลดลง (28) แชมพูที่ส่วนผสมของสารสกัดตะไคร้หอม สามารถฆ่าเห็บ หมัดในสัตว์เลี้ยงได้ (29)
5. การทดสอบความเป็นพิษ
เมื่อฉีดสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์และน้ำ (1:1) จากต้น ขนาด 1 กรัม/กิโลกรัม เข้าทางช่องท้องหนูถีบจักร ไม่พบความเป็นพิษ (30)

มะนาวกับสุขภาพ



     มะนาว เป็นผลไม้ที่อยู่คู่ครัวไทยมานาน นอกจากจะเป็นเครื่องปรุงอาหารรสแซบที่หลายคนขาดไม่ได้ยังมีประโยชน์อีกมาก มาย เช่น เป็นเครื่องดื่มแก้กระหาย เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง สมุนไพร ทำเป็นน้ำยาล้างจานรักษาความสะอาด เครื่องหอมดับกลิ่น     ที่สำคัญในทางการแพทย์ น้ำมะนาวสามารถนำไปใช้เป็นส่วนผสมของยารักษาโรคได้ เช่นโรคลักปิดลักเปิด ยาแก้ไอขับเสมหะ หลายคนคงรู้จักดีว่าต้องบีบหรือคั้นน้ำ ผสมน้ำผึ้ง แล้วจึงใส่เกลือเล็กน้อยเพื่อให้จิบบ่อย ๆ ก็จะช่วยได้เป็นอย่างดี หรือจะใช้เป็นยาทาแก้กลาก เกลื้อน หิด ด้วยการบีบน้ำมะนาวผสมผงกำมะถันทาก่อนนอน ทาแก้น้ำกัดเท้าก็ได้ด้วย

     สำหรับเปลือกของมะนาว ก็มีประโยชน์ไม่แพ้กันแม้จะมีรสขม ช่วยขับลม รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ซึ่งวิธีใช้โดยการนำเปลือกสดของมะนาวประมาณครึ่งผล คลึงให้น้ำมันออกมาแล้วฝานบาง ๆ ชงกับน้ำร้อนดื่มเวลามีอาการหรือหลังอาหาร 3 เวลา 
นอกจากนี้ มะนาวยังสามารถสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่ร่างกายได้ด้วย เช่น ช่วยลดและควบคุม คอลเลสเตอรอลในเลือดซึ่งเป็นไขมันไม่ดี จะทำให้ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นอย่างดีโดยเฉพาะผู้หญิงวัยทอง ในระยะหลังมีผลงานวิจัยจากต่างประเทศหลายชิ้นงานที่ระบุว่า น้ำมะนาวเข้มข้นมีฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ปอด ช่องปาก กระเพาะอาหาร และมะเร็งเต้านมได้อีกด้วย
     นับว่าผลไม้ลูกเล็กๆ นี้มีประโยชน์อเนกอนันต์ จงใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย ยังสร้างรายได้ให้ชาวไร่ชาวสวน ในขณะเดียวกันการปลูกมะนาวก็ยังส่งผลต่อการรักษาสภาพดิน น้ำ เรียกว่าส่งเสริมการใช้การกินมะนาวได้ประโยชน์ทั้งคน และสิ่งแวดล้อม ใครที่ไม่ชอบก็ต้องหัด ใครที่ชอบก็ส่งเสริมให้กินให้ใช้มะนาวแท้ ๆ อย่าไปใช้มะนาวเทียม หรือ น้ำอัดลมรสมะนาว เพราะนั่นจะไม่ได้ประโยชน์อย่างที่ต้องการแล้วอาจมีโทษแทรกมาอีกด้วย

กระหล่ำปลี สมุนไพรต้านมะเร็ง



        “กะหล่ำปลี” เป็นผักสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่ให้คุณค่า หากินง่ายในบ้านเรา กะหล่ำปลีมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปยุโรป โดยชาวกรีกเป็นชนชาติแรกที่เริ่มปลูกกะหล่ำปลี ผักชนิดนี้มีประโยชน์ตรงที่เป็นพืชที่ให้วิตามินซีสูง แถมยังอุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัสสำหรับสร้างกระดูก คนในสมัยโบราณใช้กะหล่ำปลีเป็นยา ว่ากันว่ากะหล่ำปลีช่วยสลายหนองจากแผลและมะเร็ง ดังนั้นกะหล่ำปลีจึงถูกใช้เป็นยาครอบจักรวาลในประวัติศาสตร์โรมัน

       ปัจจุบันมีคนให้ความสนใจเกี่ยวกับสมุนไพร โดยเฉพาะกะหล่ำปลีกันมากเนื่องจากมีการทดลองหลายอย่างที่แสดงให้เห็นว่ากะหล่ำปลีมีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้ เช่น มีการทดลองให้หนูกินพืชตระกูลกะหล่ำหลายชนิด แล้วจึงฉีดสารก่อมะเร็งเข้าในตัวหนู พบว่า หนูส่วนใหญ่ไม่เป็นมะเร็ง และจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ พบว่าน้ำคั้นจากกะหล่ำ สามารถหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในลำไส้
      จากผลวิจัยเหล่านี้ทำให้เชื่อกันว่า การบริโภคสมุนไพร กะหล่ำปลีมากกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ จะช่วยลดโอกาสการเป็นมะเร็งลำไส้ในผู้ชายลงถึง 66% กินกะหล่ำปลีปรุงสุกวันละ 2 ช้อนโต๊ะป้องกันมะเร็งในช่องท้อง และการกินกะหล่ำปลีสดก็จะดีกว่ากะหล่ำปลีสุกอีกด้วยเพราะจะไม่สูญเสียวิตามินไปกับความร้อนมากนัก
     แต่ในบ้านเรา กะหล่ำปลีถือเป็นผักอีกชนิดหนึ่งที่มีการใช้ยาฆ่าแมลงไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นก่อนกินต้องแน่ใจว่าล้างสะอาดปราศจากสารพิษแล้ว

สมุนไพรไทย ชุมเห็ดเทศ



สมุนไพรไทย ชุมเห็ดเทศ

สรรพคุณสมุนไพรไทย ชุมเห็ดเทศ มีดังนี้ 


  • สามารถใช้ขับปัสสาวะและช่วยรักษาอาการกระเพาะอาหารอักเสบ โดยให้นำชุมเห็ดเทศมาต้มน้ำกิน
  • สามารถใช้แก้อาการท้องผูก โดยให้ใช้ดอกชุมเห็ดเทศสดสัก 2-3 ช่อ ต้มรับประทานกับน้ำพริก หรือนำใบชุมเห็ดเทศสดมาล้างให้สะอาด หั่นตากแห้ง ใช้ต้มหรือชงน้ำดื่ม ครั้งละ 12 ใบ
  • สามารถใช้รักษาโรคกลาก โดยให้ใช้ใบชุมเห็ดเทศสด ตำให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อยแล้วนำไปทาตรงที่กลากขึ้น (ก่อนทาให้เอาไม้ขูดผิวให้แดงก่อน) โดยให้ทาทุกวันจนกว่าจะหาย
  • สามารถโรคฝีหรือแผลพุพอง โดยให้ใช้ใบชุมเห็ดเทศ และก้านชุมเห็ดเทศสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำพอท่วมยา แล้วเคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 แล้วนำมาชะล้างบริเวณที่เป็นโรค วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ถ้าเป็นมากให้ใช้ประมาณ 10 กำมือ ต้มอาบ

สมุนไพรรักษาสิว



     อย่างที่รู้ ๆ กันว่ากลไกของการเกิดสิวนั้นมีด้วยกันหลายอย่าง เช่น อารมณ์ก็ทำให้เกิดสิวได้ เครียดมากก็สิวเห่อ อาหารบางอย่างก็ทำให้มีสิวได้เหมือนกัน เครื่องสำอางยิ่งหนักถ้าใช้แล้วแพ้ ล้างไม่สะอาด ไปอุดรูขุมขน 


    การดูแลใบหน้าให้สวยเปล่งปลั่งนั้น ทางทีดีเราควรจะเริ่มตั้งแต่การป้องกัน ไม่ใช่เกิดปัญหาแล้วค่อยมารักษา ซึ่งปัจจุบันทั้งสาวน้อยสาวใหญ่ หันมามอบความไว้วางใจให้กับสมุนไพรกันมากขึ้น ด้วยหวังว่ามันจะไม่ทำให้เกิดผลกระทบหรือผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย 

สมุนไพรอย่างหนึ่งที่พูดถึงกันมากในสรรพคุณของการรักษาสิวก็คือ"ว่านหางจระเข้" ซึ่งเป็นสมุนไพรจำพวกที่ใช้ใบ ภายในจะมีวุ้นใส ๆ และยางเหลือง ๆ ยางสีเหลืองตัวนี้ต้องระวัง เพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ถ้าเผลอเอาไปทาจะแสบร้อน บางคนก็จะแพ้เป็นผิวผื่นคัน ซึ่งถ้าหากอยากทราบว่าเราจะแพ้หรือเปล่า ก็ให้นำว่านหางจระเข้ที่ตัดมาใหม่ ๆ ทางบริเวณท้องแขน ทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที ถ้ามีอาการคัน แปลว่าผิวเราแพ้ 

ส่วนใหญ่เราจะเห็นเขานิยมนำว่านหางจระเข้มาทาหน้า แต่ว่านชนิดนี้จะไม่เหมาะกับคนผิวหน้าแห้ง ถ้านำมาใช้เดี่ยว ๆ จะทำให้ผิวหน้าแห้งลงไปอีก ถ้าจะนำมาใช้ให้ผสมกับน้ำมันมะกอกหรือไข่แดง คนแรง ๆ ให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียวนำมาพอกหน้าทิ้งไว้สักพักแล้วล้างออกผิวหน้าจะใส ชุ่มชื่น แต่สำหรับคนที่ผิวมันให้นำว่านที่ตัดใหม่ ๆ ไปแช่น้ำให้ยางสีเหลืองไหลออกหมดก่อนแล้วให้ลอกเอาเฉพาะวุ้นที่อยู่ข้างในมาทาหรือพอกหน้าไว้สักพัก หน้าจะตึง รูขุมขนจะถูกบีบให้เล็กลง ทำให้ความมันบนใบหน้าลดลงได้ 
ส่วนใครที่เป็นสิวอักเสบ ก็ไม่ควรใช้ว่านหางจระเข้เช่นกัน เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนี้ ใครที่มีความกังวลเรื่องฝ้า การใช้ว่านหางจระเข้แม้จะไม่ใช่การรักษา แต่เป็นการป้องกันที่ดี เราสามารถนำมาทาเพื่อป้องกันรังสี UV ได้ ซึ่งเมื่อใช้เป็นประจำก็จะทำให้ปัญหาเรื่องฝ้าลดน้อยลง 

นอกจากว่านหางจระเข้แล้ว ยังมีสมุนไพรอื่น ๆ อีกที่เราสามารถนำมาใช้บำรุงผิวหน้าได้ อย่างเช่น หอมแดง เมื่อเรานำมาฝานเป็นแว่น ๆ บาง ๆ นำไปทาบริเวณที่เป็นสิว รอยด่างดำ ทาทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออก ใช้เป็นประจำรอยสิวจะหายไป 

กล้วยหอม ก็มีประโยชน์ต่อผิวพรรณเช่นกัน ถ้าเรานำกล้วยหอม 1 ผล ไปปั่นกับน้ำผึ้ง 1 ถ้วย นำมาพอกหน้าไว้ 15-20 นาที แล้วล้างออกจำทำให้หน้าตาผิวพรรณสดใส ส่วนมะนาว นำมาใช้ประโยชน์ในการดูแลใบหน้าได้มากทีเดียว เราใช้มะนาวล้างหน้าแทนสบู่หรือโฟมได้ หรืออาจจะใช้ไข่ขาว 1 ช้อนชา ดินสอพอง 2 เม็ดใหญ่ มะนาว 1 ลูก น้ำผึ้ง 1 ช้อน น้ำมันมะกอก1 ช้อนชา ผสมให้เข้ากันจะได้ครีมข้นนำมาพอกหน้า พอกตัวประมาณ 20-30 นาที แล้วล้างออก ทำวันเว้นวัน ไม่นาน ผิวพรรณจะใสนุ่มเนีย